Custom Search

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การปลูกมะนาวบนต้นตอมะขวิด

ส้มโอทะเลแก้ว



วิธีการปลูก



ศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล ตามโครงการพระ ราชดำริหน่วยขยายพันธุ์ส้มโอ เป็นโครง การร่วมระหว่าง สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัด พิษณุโลกและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้สถานที่บริเวณ ทะเลแก้ว หรือสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม (ทะเลแก้ว ) เป็นศูนย์ปฏิบัติการ ดังนี้



1. เลือกมะนาวพวง กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อทำ ต้นตอใช้ในการทาบกิ่งส้มโอ



2. นำกิ่งส้มโอพันธุ์ท่าข่อย ผ่าเป็นวงพระ จันทร์ นำกิ่งมะนาวที่เตรียมไว้ทาบกันแล้วพันด้วย ผ้าพลาสติก การพันผ้าพันให้ห่างจากถุง พลาสติกประมาณ 1 นิ้ว โดยพันจากล่างขึ้นบน



3. เสริมรากโดยใช้มะนาวพวง เช่นกัน



4. ตัดกิ่งมะนาวพวง เพื่อให้ได้ผลผลิตแก่ ส้มโอเต็มที่



5. ต้นส้มโอที่มีต้นตอเป็นมะนาวพวง มี ลักษณะสำคัญ คือ ต้นเตี้ย ทนแดดทนแล้ง และผลดก



คุณค่าและประโยชน์



การปลูกส้มโอโดยใช้ต้นตอกิ่งมะขวิดหรือมะนาว พวง ทำให้ต้นส้มโอแข็งแรง มีลูกดก น้ำหนักดี รสหวานกลมกล่อมกว่าส้มโอพันธุ์เดิม

ป้ายกำกับ:

พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดย นายเต็ม สมิตินันทน์

เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้ เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้ามไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก.
๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข.

อินทนิล


[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]


หัวข้อ

ไม้หวงห้ามประเภท ก.
ไม้หวงห้ามประเภท ข.
ไม้หวงห้ามประเภท ก.

๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟันและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้ มีจำนวนกว่า ๒๕๐ ชนิด พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าภาคหลวงไว้ด้วย ได้แก่
ชนิด
ของไม้ ชื่อ-สกุล ลักษณะของต้นและใบ สีของดอกและ ลักษณะผล ที่ชอบขึ้น ก่อ มี ๓ สกุล คือ
๑. ก่อแอบ เคอร์คัส (Quercus)
ได้แก่ ก่อแอบ (Q.kerrii)
ก่อแดง (Q. kingiana)
ก่อขี้กวาง (Q. acutissima)
ก่อสีเสียด (Q. brandisiana) ต้นไม้ขนาดใหญ่
ขอบใบมักจักเป็น
ฟันเลื่อยห่าง ๆ
ดอกเพศผู้และ
เพศเมียแยกอยู่
คนละช่อ
ผลเดี่ยว ๆ มีถ้วย
รองรับตอนโคน
ผล
ป่าดิบเขา
ป่าดิบชื้น
พื้นราบ
๒. ก่อหินลิโทคาร์ปัส
(Lithocarpus)
ก่อหิน (L.encleisacarpus)
ก่อหม่น (L. elegans)
ก่อด่าง (L. lindleyanas)
ก่อก้างด้าง (L. garrettianus)
ต้นไม้ขนาดใหญ่
ขอบใบเรียบ
ดอกเพศผู้ และเพศ
เมียอยู่ปนในช่อ
เดียวกัน หรือบางที
ก็แยกกันอยู่คนละช่อ ผลอยู่ติดกัน ๒-๓
ผล มีถ้วยรองรับ
ตอนโคนผล
๓. ก่อเดือย แคสทานอพซีส
(Castanopsis)
ก่อเดือย (C. acuminatissian)
ก่อข้าว (C. indica)
ก่อขี้หมู (C. pierri)
ก่อแป้น (C.diversifolia)
ก่อบ้าน (C. wallichii) คล้ายสกุลก่อหิน
บางชนิดใบมีขอบ ผลมีเปลือกที่เป็น
หนามแหลมมาก
หรือน้อยหุ้มคลุม
อีกชั้นหนึ่ง เปลือก
หนึ่ง ๆ อาจหุ้มผล
ได้ ๑-๓ ผล ซึ่ง
รับประทานได้
แดง Xylia Kerrii ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีแดงคล้ำ ดอกสีขาวหอม
ผลเป็นฝักแบน
แห้งแข็ง ป่าเบญจพรรณ
มะค่าโมง Afzelia xylocarpa ผลัดใบ
สูง ๑๕-๒๐ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาลอม
เหลือง ดอกสีเขียว ๆ
ผลเป็นฝักแบนหนา
แห้งแข้ง ป่าเบญจพรรณ
พะยูง Dalbergia cochinchinensis ผลัดใบ
สูง ๑๕-๒๐ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาล
อมแดง ดอกสีขาว
ผลเป็นฝักเล็กบาง ป่าเบญจพรรณ
ชิงชันหรือ
เกดแดง Dalbergia ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีแดง ดอกสีขาว
ผลเป็นฝักเล็กแข้ง ป่าเบญจพรรณ
กระพี้เขา
ควายหรือ
เกดดำ Dalbergia ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีแดง แกมดำ ดอกสีขาว
ผลเป็นฝักเล็กแข็ง ป่าเบญจพรรณ
ประดู่ Pterocarpus macrocarpus ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีแดงคล้ำ ดอกสีเหลืองหอม
ผลเป็นฝักแบนกลม
มีครีบโดยรอบ ป่าเบญจพรรณ
กันเกรา Fagraea Fragrans ไม้ผลัดใบ
สูง ๑๕-๒๐ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาล
อ่อน ดอกสีนวลหอม
ผลเล็กกลม
สุกสีแดง ป่าดิบชื้นและ
ที่ลุ่มน้ำขัง
กระเจา Holoptelea integrifolia ไม้ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีนวล ดอกสีขาวๆ เขียว ๆ
ผลเล็กแบน บางที
มีครีบโดยรอบ ป่าเบญจพรรณ
ตะแบก
เปลือก
หนา Lagerstroemia Calyculata ไม้ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เปลือกสีเทา
เป็นสะเก็ดล่อน
เป็นหลุมตื้น ๆ
เนื้อไม้สีนวล ดอกสีม่วงอ่อน
ผลเล็ก ผิวแข็ง
แก่จัดแยกออก
เป็นเสี่ยง ๆ ป่าเบญจพรรณ
ตะแบก
เปลือก
บาง Lagerstroemia balansae คล้ายตะแบก
เปลือกหนา ดอกสีม่วง ผลมี
ขนาดใหญ่กว่า ป่าเบญจพรรณ
เสลา Lagerstroemia tomentosa ไม้ผลัดใบ
สูง ๒๐-๒๕ เมตร
เปลือกเรียบสีน้ำ
ตาล เนื้อไม้สีนวล ดอกสีม่วงอ่อน
เกือบขาว ผลผิว
แข็ง แก่จัดแยก
ออกเป็นเสี่ยง ๆ ป่าเบญจพรรณ
อินทนิล Lagerstroemia speciosa ไม้ผลัดใบ
สูง ๑๕-๒๐ เมตร
เป็นสะเก็ดล่อน
ออกบาง ๆ เนื้อไม้
สีน้ำตาลอ่อน สีม่วงเข้ม ผล
ขนาดใหญ่ ผิวแข็ง
แก่จัดแยกออกเป็น
เสี่ยง ๆ ป่าดิบแล้ง
ริมลำธาร
กระบาก
มี ๓ ชนิด
กระบากขาว
กระบากดำ
ปีกหรือ
ช้าม่วง

Anisoptera oblonga
Anisoptera costata

Anisoptera scaphula ไม่ผลัดใบ
สูง ๒๕-๓๐ เมตร
เปลือกสีน้ำตาลอ่อน
เนื้อไม้สีนวล
สีขาวหอม
ผลกลม
มีปีกยาว ๒ ปีก
ปีกสั้น ๓ ปีก ป่าดิบแล้ง
ป่าดิบชื้น
ตะเคียน
มี ๓ ชนิด
ตะเคียนทอง
ตะเคียนหิน
ตะเคียนราก

Hopea odorata
Hopea ferrea
Hopea pierrei ไม่ผลัดใบ
สูง ๒๕-๓๐ เมตร
เปลือกสีน้ำตาล
อมเหลือง สีนวล ผลเล็กกลม
ปลายแหลม
มีปีกใหญ่ ๒ ปีก
ปีกสั้น ๓ ปีก ป่าดิบแล้ง
ป่าดิบชื้น
เต็งหรือแงะ Shorea obtusa ผลัดใบ
สูง ๑๕–๒๐ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาล สีนวล หอม
ผลเล็กกลม
ปลายแหลม
มีปีกใหญ่ ๓ ปีก
ปีกสั้น ๒ ปีก
ป่าเต็งรัง
ป่าเบญจพรรณ
แล้ง
เต็งตานี Shorea thorelii คล้ายไม้เต็งมาก คล้ายไม้เต็ง
แต่ดอกใหญ่กว่า ป่าดิบแล้ง
รัง หรือ เปา Shorea siamensis ผลัดใบ
สูง ๑๕–๒๐ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน สีนวล หอม
ผลเล็กกลม
ปลายแหลม
มีปีก ๕ ปีก
ยาวไล่เลี่ยกัน ขึ้นปะปนกัน
กับไม้เต็ง
ยางเหียง Dipterocarpus obtusifolius ผลัดใบ
สูง ๒๐–๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาล สีชมพู หอม
ผลใหญ่กลม
ปลายแหลม
มีปีกใหญ่ ๒ ปีก
ปีกสั้นรูปหูหนู ๓ ปีก ขึ้นปนกับ
ไม้เต็ง ไม้รัง
ยางกราด Dipterocarpus intricatus ผลัดใบ
สูง ๒๐–๒๕ เมตร
เนื้อไม้สีน้ำตาล สีชมพูอ่อน หอม
ผลใบใหญ่กลม
ปลายแหลม
มีปีกใหญ่ ๒ ปีก
ปีกสั้นรูปหูหนู ๓
ปีก แต่ส่วนโคนปีก
ที่หุ้มผลนั้นมีกลีบ
ขยุกขยิก ๕ กลีบ
ตามยาวแต่ละกลีบ
ชนกัน ขึ้นปนกับ
ไม้เต็ง ไม้รัง
และไม้เหนียว
ยางพลวง Dipterocarpus tuberculatus ผลัดใบ
สูง ๒๐–๒๕ เมตร
ใบมีขนาดใหญ่มาก
เนื้อไม้สีน้ำตาล สีชมพูอ่อน ผลกลม
มีปีกใหญ่ ๒ ปีก
ปีกรูปหูหนู ๓ ปีก
ตอนโคนปีกจะมี
ตุ่มปมสลับกันอยู่
๕ ปม ขึ้นปนกับ
ไม้เต็ง ไม้รังเหียง
และกราด
ยมหอมหรือ
สีเสียดอ้ม Toona ciliata ไม่ผลัดใบ
สูง ๒๐–๒๕ เมตร
เปลือกแตกออก
เป็นร่องตามยาว
สีน้ำตาลเข้ม
สับออกดูมีสีชมพู
ู กลิ่นเหมือนยาหอม
เนื้อไม้สีน้ำตาล
แกมชมพู สีขาว ผลผิวแข็ง
แก่จัดแยกออก
เป็นเสี่ยง ๆ ป่าดิบแล้ง
สนทะเล Casuarina equisetifolia ไม่ผลัดใบ
สูง ๒๐–๒๕ เมตร
กิ่งดึงหลุดออกได้
เป็นปล้อง ๆ
เนื้อไม้สีขาว สีน้ำตาลอมแดง
ผลกลมขรุขระ ขึ้นตามหาด
ทรายชายทะเล

[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

ไม้หวงห้ามประเภท ข.

๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก หรือ มีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น เช่นเปลือกหรือเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือ ชัน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จะหาของอื่นมา ใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟัน โค่น ล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือ
สนเขา เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ใน สกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง ๒๕-๓๐ เมตร ใบรูปเข็ม มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ
สนสองใบ (Pinus merkusii)
สนสามใบ (Pinus khasya)

ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่
พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอ โดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม
ขุนไม้ (Podocarpus wallichii) ใบกว้าง สอบเรียวทางปลายและโคน
พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน
แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กอยู่ชิดติดกัน
เป็นแผงคล้ายใบสนแผง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบเขา
มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กเรียวปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบ
สามพันปี (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลมเป็นเกล็ดเล็กๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร
กฤษณาหรือกระลำพัก เป็นไม้สกุลอะควิลาเรีย (Aquilaria) ซึ่งขึ้นตามป่าดิบ เรียกกันทั่วๆไปว่า กฤษณา มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ Aquilaria crassna และ Aquilaria intergra พันธุ์ไม้สองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก ยากที่จะจำแนกออกจากกันได้ แต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าเป็นไม้ในสกุลนี้ คือ มีใบบาง เนื้อแน่น มีเส้นใบถี่ เปลือกสีเทา ลอก ออกได้ง่ายตามยาวของลำต้นและมีใยเหนียวมาก
หอม หรือ สบ หรือ กะตุก (Altingia siamensis)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ขึ้นตามป่าดิบ ใบมีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร เนื้อไม้มีกลิ่น
หอมกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminticus และ H.kurzii) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตรไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าดิบ ผลให้เมล็ดใช้สกัดน้ำมันทำยารักษาโรคเรื้อนได้ผลดี
มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ (Parinari annamense) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ผลให้เมล็ดใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน และกระดาษ
รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata และ M. laccifera) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกให้ยางสีดำใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเขิน
นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น ยังมีไม้อยู่อีก ๒ ชนิดที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้หวงห้าม ชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม้สัก (Tectona grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง ๒๐-๓๐ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม และมีเปลือกบางๆ หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
ไม้ยาง (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ดอกสีชมพูผลกลมปลายแหลม มีปีก ๒ ปีกใหญ่และปีกรูปหูนู ๓ ปีกเนื้อไม้สีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ไม้ ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆ ไป คือ
ยางนา (Dipterocarpus alatus)
ยางพาย (Dipterocarpus costatus)
ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus)
ยางมันหมู (Dipterocarpus kerrii)
ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis)

ป้ายกำกับ:

ไม้ผล

ไม้ผล โดย นายวิจิตร วังใน และ นายปวิณ ปุณศรี


[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]


หัวข้อ

การแบ่งประเภทของไม้ผล
พันธุ์ไม้ผล
ลักษณะดีของไม้ผลบางชนิด
การปรับปรุงพันธุ์
การขยายพันธุ์ไม้ผล
การแบ่งประเภทของไม้ผล

การแบ่งประเภทไม้ผล นอกจากจะอาศัยหลักง่ายๆ เช่น ขนาดของต้นและความต้องการอุณหภูมิของพืชแล้ว เรายังมีวิธีการแบ่งทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้วิชาการสูงขึ้นเข้าช่วยพิจารณา เช่น วิชาพันธุศาสตร์ เคมี เซลล์วิทยา หรือ วิชาที่ว่าด้วยซากดึกดำบรรพ์
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

พันธุ์ไม้ผล

ปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการทำสวนผลไม้ คือ พันธุ์ไม้ผลที่เราใช้ปลูก ไม้ผลแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น มะม่วงประกอบด้วยพันธุ์ต่างๆ หลายสิบพันธุ์ ตัวอย่างเช่น แก้ว อกร่อง พิมเสนมัน ทองดำ เขียวเสวย เป็นต้น แม้แต่พันธุ์เดียวกันก็อาจประกอบไปด้วยสายพันธุ์ซึ่งแตกต่างออกไปจากพันธุ์เดิม เช่น พันธุ์อกร่อง อาจแยกออกเป็น อกร่องเขียว อกร่องทอง อกร่องกะทิ อกร่องกระจิบ อกร่องหัวโขน อกร่องแก้มแดง อกร่องทะวาย อกร่องมัน เป็นต้น ในแต่ละสายพันธุ์ ถ้าต่างต้นกันกรรมพันธุ์อาจแตกต่างกันได้ เช่น ต้นหนึ่งอาจให้ผลดก ลูกโตเสี้ยนน้อย และเป็นพันธุ์เบา แต่อีกต้นหนึ่งของสายพันธุ์เดียวกันอาจให้ลูกไม่ดก ลูกเล็ก มีเสี้ยนมากและเป็นพันธุ์หนัก เป็นต้น ฉะนั้นการเลือกพันธุ์ปลูก จึงมีความสำคัญต่อการทำสวนผลไม้เป็นอย่างมาก
โดยทั่วๆ ไปพันธุ์พืชที่ดี คือ พันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด ซึ่งพอสรุปลักษณะที่ต้องการได้ดังต่อไปนี้
๑. เป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอและสามารถผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำ
๒. ผลิตผลมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดผลไม้สด และ (หรือ) ของโรงงานอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์จากผลไม้ ทนต่อการขนส่งและเก็บรักษาได้นาน สามารถขนส่งสู่ตลาดด้วยต้นทุนต่ำและตลาดต้องการในระยะยาว
๓. เป็นพันธุ์เบาหรือให้ผลนอกฤดูได้ และสามารถขยายพันธุ์ง่ายด้วยต้นทุนที่ไม่แพงนัก
๔. เป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคและแมลง

ป้ายกำกับ:

พืชคลุมดิน

พืชคลุมดิน โดย นายวิจิตร วังใน และนายปวิณ ปุณศรี

การปลูกพืชคลุมดินเป็นการปลูกพืชที่มีลำต้นอ่อนเพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกัน เพื่อให้คลุมดินตลอดปี หรือชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเราอาจทิ้งพืชเหล่านี้ไว้เพื่อยึดผิวดิน กันดินพังทลายเวลามีฝนตกหนัก น้ำบ่าหรือมีลมแรงพัดเข้าสู่ผิวดินบริเวณนั้น หรืออาจไถกลบลงไปในดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด
พืชที่จะนำมาปลูกเป็นพืชคลุมนั้น ควรเป็นพืชที่ขึ้นง่ายทั้งในดินดีและดินเลว มีการเจริญเติบโตเร็ว มีกิ่งก้านสาขามาก และส่วนยอดอ่อนนุ่มมีน้ำมาก พืชคลุมดินที่นิยมกันในสวนผลไม้ ได้แก่ ถั่วลาย คาโลโปโกเนียม คุดซู เวลเวทขาว เป็นต้น
การทำสวนผลไม้โดยทั่วไปแล้วเจ้าของสวนไม่สามารถไถพรวนได้บ่อยๆ เหมือนการปลูกพืชไร่การปลูกพืชคลุมดินจึงเป็นของจำเป็นมากในการทำสวนผลไม้ แม้ว่าจะมีดินดีอยู่แล้วก็ตาม พืชคลุม ดินจะช่วยให้ต้นไม้ได้รับประโยชน์หลายประการ คือ
๑. เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เมื่อเศษกิ่งใบของพืชคลุมร่วงหล่นทับถมบนผิวดิน ในที่สุดจะผุพังรวมตัวกับดินซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ต่อไป นอกจากนี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืชและเพิ่มจำนวนไส้เดือน และจุลินทรีย์ในดิน
๒. ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน พืชคลุมจะส่งรากลงไปในดินและยึดเม็ดดินไว้ ทำให้ผิวดินไม่ถูกเซาะได้ง่ายเมื่อมีน้ำไหลแรง หรือฝนตกหนักการทำสวนบนเนินลาดจึงจำเป็นต้องปลูกพืชคลุมโดยปลูกพืชคลุมไว้ตามขั้นบันไดที่ทำไว้จะช่วยยับยั้งความแรงของกระแสน้ำที่ไหลลงได้ จึงเป็นการป้องกันการพังทลายของดิน นอกจากนี้ใบหรือเถาพืชคลุมที่เจริญอย่างหนาแน่น จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่มีขนาดโตๆ กระทบผิวดินโดยตรงอันจะเป็นการลดการชะล้างหน้าดินอีกทางหนึ่งด้วย
๓. ทำให้โครงสร้างและสภาพของดินดีขึ้น ดินที่มีพืชคลุมขึ้นอยู่จะไม่เกาะกันแน่นเหมือนดินที่ไม่มีพืชขึ้นเลย ถ้าเราเลือกพืชคลุมที่มีรากชอนไชไปในดิน และเป็นพืชที่ให้อินทรียวัตถุมาก จะทำให้ดินบริเวณนั้นร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้สะดวกและอุ้มน้ำได้ดี ก็จะทำให้ดินมีโครงสร้างเหมาะแก่การเจริญเติบโตของไม้ผล อินทรียวัตถุจากพืชคลุมจะช่วยทำให้เม็ดดินเหนียวติดกันเป็นก้อนๆ มีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้ดินร่วนขึ้น ทั้งนี้เพราะสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้นในอินทรียวัตถุจะมาเคลือบเม็ดดินเหนียวซึ่งมีขนาดเล็กมาก ให้เป็นก้อนโตขึ้น นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยทำให้เม็ดทรายในดินทรายให้ติดกันแน่นทำให้เหนียวขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับซากพืชเข้าแล้ว ดินทรายก็จะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
๔. ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน การปล่อยให้พืชคลุมคลุมตามผิวดิน โดยเฉพาะพืชคลุมที่ปลูกในดินที่พรวนแล้วอย่างดี หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งสุดท้ายจะช่วยให้ดินเก็บน้ำได้ดีขึ้น และช่วยลดการระเหยของน้ำ เพราะพืชคลุมจะช่วยบังแสงแดดไม่ให้โดนผิวดินโดยตรง นอกจากนี้อินทรียวัตถุที่หล่นปกคลุมผิวดิน จะเป็นวัตถุคลุมดินที่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำเป็นอย่างดี พืชคลุมจะช่วยดูดเอาน้ำที่จะไหลผ่านลงไปสู่ดินชั้นล่างไว้แทนที่จะปล่อยให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำให้ผิวดินชื้นอยู่เสมอ
๕. ช่วยกำจัดวัชพืช พืชคลุมดินส่วนมากจะมีใบเป็นจำนวนมาก และหล่นทับถมบนผิวดินจนแสงสว่างส่องไม่ถึงผิวดิน เมื่อเป็นเช่นนี้วัชพืชก็ไม่มีโอกาสงอกได้ แม้แต่วัชพืชที่ตั้งตัวได้แล้วเช่น หญ้าคา ถ้าเราปลูกพืชคลุม เช่น ถั่วลายขึ้นคลุมจะทำให้หญ้าคาตายได้ เพราะถูกบังแสงแดดจนมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
การปลูกพืชคลุมก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือ อาจเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลง เถาของมันอาจเลื้อยขึ้นพันต้นไม้ผลของเราได้ ต้องเสียเวลาคอยตัด หรือกันไม่ให้เข้าไปติดกับต้นไม้ผล เศษเถาและใบที่กองทับถมกันอยู่ในสวน อาจเป็นเชื้อไฟจะทำให้เกิดไฟไหม้สวนได้ ดังนั้นการทำสวนผลไม้ใกล้ป่าหรือใกล้เขตรกร้างอื่นๆ จึงควรทำแนวกันไฟไว้รอบๆ บริเวณสวน นอกจากนี้พืชคลุมที่เจริญมากๆ อาจแย่งน้ำและอาหารจากต้นไม้ที่เราปลูกไว้ได้

ป้ายกำกับ:

พันธุ์เป็ด พันธุ์ไก่

พันธุ์เป็ด พันธุ์ไก่ โดย นายสุวรรณ เกษตรสุวรรณ และนายไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ

ไก่เลี้ยงทุกวันนี้เชื่อว่าสืบตระกูลมาจากไก่ป่าสีแดงของเอเชียใต้ และอินเดีย ซึ่งมีอยู่ใน
ประเทศไทยเองด้วย เมื่อคนนำไก่ป่ามาเลี้ยงให้เชื่อง หรือเลี้ยงได้ในที่คุมขังแล้ว ก็มีผู้นำต่อไปยังท้องที่ต่างๆ แล้วทำการคัดเลือกผสมพันธุ์ให้ได้ลักษณะสีสันตามความชอบ จนเกิดเป็นพันธุ์แท้มากมายหลายพันธุ์ ที่เรียกว่า พันธุ์แท้ หมายถึงพันธุ์ที่ให้ลูกซึ่งมีลักษณะรูปร่างของตัว ขนาดตัวและสีขนเหมือนพ่อแม่เสมอ
พันธุ์เป็ดปัจจุบันก็มีต้นตระกูลมาจากเป็ดป่าของเอเชียเหมือนกัน หลังจากผ่านฝีมือปรับปรุงคัดเลือกผสมพันธุ์โดยมนุษย์ เราจึงมีเป็ดพันธุ์ทาง และเป็ดพันธุ์แท้เลี้ยงกันทุกวันนี้
กล่าวกันว่า ชาวกรีกโบราณได้เขียนถึงการเลี้ยงไก่บ้าน อันเป็นเวลานานร่วม ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วต่อมาชาวยุโรปในสมัยกลางได้สนใจนิยมเลี้ยงไก่ชนกันแพร่หลาย ไก่ชนนี้ดูจะมีคนนิยมทั้งในเอเชีย และอเมริกากลางด้วย ในรอบ ๑๐๐ ปีนี้ ได้มีพันธุ์ไก่ซึ่งแบ่งหมวดหมู่ได้ เป็นพันธุ์ไก่อังกฤษ พันธุ์ไก่เมดิเตอร์เรเนียน พันธุ์ไก่เอเชีย และพันธุ์ไก่อเมริกา การแบ่งหมวดหมู่อาศัยลักษณะตัวว่า อ้วนป้อม ตัวลีบ ตัวกลม ลักษณะท่าทางเวลายืนว่าตัวขนานพื้นหรือเชิด ลักษณะสีของผิวหน้าและแข้งขาเป็นหลัก นอกจากนี้ก็มีลักษณะหงอน รูปร่างต่างๆ ชนิดกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่จัดว่าสวยงามตามสายตาของผู้ผสมพันธุ์ และอาจแบ่งอย่ากว้างๆ ตามผลิตผล เป็นไก่กระทง ไก่เนื้อ ไก่ไข่ กับพันธุ์เนื้อและไข่ สำหรับเป็ดก็อาจแบ่งเป็นพันธุ์เนื้อและพันธุ์ไข่ปัจจุบัน ลักษณะเศรษฐกิจสำคัญเป็นอันดับต้นลักษณะสวยงามจึงถูกละเว้นไป นักพันธุศาสตร์ได้ใช้ลักษณะเศรษฐกิจต่อไปนี้เป็นข้อตัดสินในการคัดเลือกไก่หรือเป็ดพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในการเลี้ยงไก่และเป็ด เป็นการค้าหรืออุตสาหกรรม คือ
๑. ไข่ดก/ให้ลูกได้มาก
๒. เติบโตเร็ว เนื้อมากตั้งแต่ระยะเริ่มเติบโต
๓. ฟักออกดี
๔. ให้ลูกแข็งแรง เลี้ยงง่าย รอดมาก
๕. ขนงอกเร็วและคลุมเต็มตัว ตั้งแต่อายุ ๒-๔ สัปดาห์
สีขนก็ยังมีความสำคัญ แต่เป็นความสำคัญในแนวทางใหม่ สำหรับเป็ดเนื้อหรือไก่เนื้อ ขนสีขาวมีภาษีดีกว่าขนสีแดงหรือดำ เพราะทำให้ผิวหนังของไก่น่ารับประทาน สวยงาม เกลี้ยงเกลาเนื่องด้วยตอขนสีขาวมองเห็นได้ยาก แต่ตอขนสีแดงหรือดำจะเห็นชัดผู้บริโภครังเกียจ
สีของผิวหนังก็ยังมีความสำคัญทางด้านเอาใจผู้บริโภค ถ้าตลาดนิยมผิวหนังสีเหลืองในไก่รับประทาน เขาก็คัดสายพันธุ์ที่มีผิวหนังสีเหลือง และสามารถใช้สารแซนโทรฟิลล์ ซึ่งมีมากในข้าวโพดเหลือง และใบกระถิ่นในอาหารมาเพิ่มเติมสีเหลืองของผิวหนังให้เข้มน่าดูน่าซื้อ แต่ถ้าตลาดชอบผิวหนังสีขาวเขาก็สามารถคัดสายพันธุ์ที่ให้ผิวหนังสีขาวได้
ระบบการผสมพันธุ์และคัดไก่พันธุ์ ได้เปลี่ยนจากคตินิยมแต่เดิมสมัยที่มุ่งผสมพันธุ์แท้เพื่อให้ลูกสืบทอดลักษณะของพันธุ์แต่ละพันธุ์ มาเป็นการผสมพันธุ์และคัดสายพันธุ์ หรือสายเลือด ที่จะให้ลูกซึ่งแข็งแรงเติบโตเร็วดีกว่าพ่อแม่เมื่อผสมข้ามสายเลือด ทั้งนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค้นพบในรอบ ๔๐ ปีนี้เองว่า สายเลือดผสมมีลักษณะความแข็งแรงและการเติบโตสูงกว่าสายพ่อ-แม่ที่เป็นสายเลือดบริสุทธิ์และสามารถใช้ลูกผสมจากสายเลือดผสมอีกชั่วหนึ่งเมื่อเลี้ยงเป็นไก่ไข่ หรือไก่กระทงให้มีความสมบูรณ์ ทนทานและโตเร็ว
หลักการที่กล่าวข้างบนนี้ฟังง่าย แต่ปฏิบัติได้ยาก ต้องการผู้เชี่ยวชาญและทุนทรัพย์มากสำหรับที่จะค้นหา ทดสอบ และบำรุงรักษาสายเลือดบริสุทธิ์ที่จะนำมาผสมพันธุ์เพื่อให้ผลตามที่การเลี้ยงไก่เป็นการค้าต้องการ ขณะนี้ทั่วโลกมีบริษัทผสมพันธุ์ไก่ที่สามารถดำเนินการในลักษณะที่กล่าวได้ประมาณ ๑๐ บริษัท ชื่อของพันธุ์หรือสายพันธุ์ไก่สมัยใหม่นี้ โดยมากจะใช้ชื่อของบริษัทที่ผสมพันธุ์ไก่นั้นๆ และด้วยข้อตกลงทางการค้าก็สามารถจัดส่งไก่พันธุ์ให้แก่ลูกค้าระดับต่างๆ ได้เกือบทั่วโลก
การเลี้ยงไก่ในประเทศไทยได้ผ่านสมัยที่เลี้ยงพันธุ์แท้มาเป็นสมัยที่ชี้ชวนให้รู้จักเลี้ยงเพื่อผลิตไข่ไก่ และไก่รับประทาน จำหน่ายโดยแพร่หลาย แล้วข้ามมายังสมัยปัจจุบัน คือ เลี้ยงแบบธุรกิจอุตสาหกรรม โดยใช้ระยะเวลาเพียง ๕๐ ปีเศษ นับแต่ พ.ศ. ๒๔๖๗ เมื่อ ม.จ. สิทธิพร กฤดากรบิดาแห่งเกษตรแผนใหม่ของไทยได้ทรงนำไก่เศรษฐกิจจากต่างประเทศ คือ ไก่เลกฮอร์นขาวเพื่อกสิกรไทยจะได้เรียนรู้การเลี้ยงไก่เป็นอาชีพสำหรับผลิตอาหารชั้นดีให้ได้ปริมาณมาก พระประสงค์นี้ได้รับการส่งเสริม แนะนำด้วยการสาธิตควบคู่กับการศึกษาทดลองของ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนทั้งในรูปเงินยืมเป็นทุนหมุนเวียน และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมาดำเนินการเลี้ยงไก่ เริ่ม แต่ พ.ศ. ๒๔๙๓ จนยุติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งยังผลให้ทั้งเกษตรกร ตลาด และผู้บริโภคยอมรับไข่ไก่และไก่กระทงโดยแพร่หลายจนเป็นสินค้าซื้อขายกันปีละหลายพันล้านบาท
ปัจจุบัน เราอาจกล่าวได้ว่า การเลี้ยงไก่ในประเทศไทยได้มาถึงขั้นธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรมีระบบการผลิตลูกไก่ให้ผู้เลี้ยง มีระบบการรับซื้อไข่และไก่เนื้อเพื่อแปรรูปและจัดจำหน่าย มีระบบการลงทุนร่วมโดยใช้สินเชื่อทั้งเงินสดและเป็นอาหารสัตว์ ระบบเหล่านี้เชื่อมโยงการดำเนินการแต่ละขั้นตอนให้กระทำตามแผนการตลาดที่กำหนดไว้ล่วงหน้านับว่าเป็นข้อก้าวหน้ากว่าสินค้าเกษตรอีกหลายๆ อย่าง และควรใช้เป็นบทเรียนในการปรับปรุงระบบการเกษตรของเราต่อไปข้างหน้าได้ด้วย

ป้ายกำกับ: ,

พันธุ์มันสำปะหลัง

พันธุ์มันสำปะหลัง โดย นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์

พันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกอยู่ทั่วไปในประเทศไทยมีอยู่ ๓ พันธุ์ คือ
๑. พันธุ์ที่ใช้หัวเป็นอาหารของมนุษย์ นิยมปลูกกันตามบ้านเพื่อใช้เป็นอาหารในครอบครัว เรียกกันว่าพันธุ์ห้านาที เป็นพันธุ์ที่มีกรดไฮโดรไซยานิกในหัวต่ำ เมื่อต้มแล้วเนื้อจะซุย นุ่ม ไม่ขม และมีรสดี ใช้เป็นอาหารโดยปิ้ง เผา ต้ม และเชื่อมเป็นต้น พันธุ์นี้สังเกตได้ที่ก้านใบมีสีแดงเข้ม ทั้งก้านและเปลือกของหัวขรุขระมีสีน้ำตาล มีขายกันอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด
๒. พันธุ์ที่ใช้หัวในอุตสาหกรรม พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้าจำนวนมากนับล้านๆ ไร่ เพื่อส่งเข้าโรงงานทำแป้ง หรือโรงงานมันเส้น เรียกกันว่าพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ระยอง เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณแป้งในหัวมากและมีกรดไฮโดรไซยานิกสูง จึงมีรสขมเนื้อหัวหยาบรสไม่อร่อย แต่เจริญเติบโตได้ดี ผลผลิตสูง จึงปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงาน ลักษณะประจำพันธุ์นี้ คือ ก้านใบมีสีเขียวอ่อนปนแดง หัวเรียบมีสีขาว
๓. พันธุ์ที่ใช้เป็นไม้ประดับ นิยมปลูกกันตามบ้านเพื่อความสวยงาม เรียกว่า "มันด่าง" ใบจะด่างมีสีเขียว ปนเขียวอ่อนและขาว สีด่างของใบสวยงาม จึงปลูกเป็นไม้ประดับ

ป้ายกำกับ:

การปฏิบัติรักษาภายหลังปลูกอ้อย

การปฏิบัติรักษาภายหลังปลูกอ้อย โดย นายเกษม สุขสถาน



หัวข้อ

การให้น้ำและการระบายน้ำ
การกำจัดวัชพืช
การป้องกันและการกำจัดโรคและแมลง ศัตรูอ้อย
การปลูกซ่อม
การใส่ปุ๋ยและการพูนโคน
การให้น้ำและการระบายน้ำ

เนื่องจากอ้อยปลูกเป็นร่องๆ อยู่แล้ว ดังนั้นการให้น้ำจึงกระทำได้ง่ายโดยปล่อยน้ำเข้าไปตามร่องจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ในขณะเดียวกันก็ทำร่องทิ้งน้ำไว้ทางปลายร่องเพื่อจะได้ระบายน้ำที่เกินพอออกไปจากไร่ การให้น้ำภายหลังปลูกมักกระทำทันทีที่ปลูกเสร็จ ส่วนครั้งต่อๆ ไปให้เมื่ออ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ซึ่งจะเห็นได้จากอาการที่ใบห่อในเวลาเที่ยงวันหรือเวลา\บ่าย ปริมาณน้ำและเวลาที่ให้แตกต่างกันตามชนิดของดิน ลมฟ้าอากาศ ตลอดจนระยะการเจริญเติบโตของอ้อยด้วย
สำหรับการให้น้ำก่อนหรือหลังปลูก นั้นมี ชาวไร่บางรายสังเกตว่า ในสภาพดินร่วนเหนียวปนทราย เช่น ในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม การให้น้ำก่อนปลูกโดยปล่อยน้ำเข้าตามร่องแล้วทิ้งไว้จนกระทั่งดินหมาดพอที่จะปลูกได้สะดวกจึงปลูก ได้ผลดีกว่าการให้น้ำหลังปลูก
วิธีให้น้ำนอกจากจะปล่อยเข้าไปตามร่องแล้วยังอาจให้แบบฝนเทียม (sprinkle) หรือแบบหยดน้ำ (drip หรือ triggle) อีกด้วย การให้น้ำแบบหยดน้ำคงจะเป็นที่นิยมในอนาคต เพราะนอกจากจะประหยัดทั้งน้ำและค่าใช้จ่ายแล้วยังได้ผลดีอีกด้วย
การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชอาจกระทำโดยอาศัยแรงงานคนถากด้วยจอบ หรือใช้เครื่องจักรพรวนเมื่อเห็นว่ามีวัชพืช นอกจากนี้ก็อาจใช้สารเคมีประเภทก่อนงอก เช่น พวกไดยูรอน (diuron) อัตราประมาณ ๒๐๐-๔๐๐ กรัมของตัวยาต่อไร่ ฉีดก่อนที่อ้อยและวัชพืชจะงอก แต่ต้องระวังในการใช้ยาพวกนี้ เพราะอาจเป็นอันตรายแก่อ้อยบางพันธุ์ นอกจากนี้ก็มีพวกอะเมทรีน (ametryne)ซึ่งใช้ในอัตรา ๓๐๐-๖๐๐ กรัมของเนื้อยาต่อไร่ ยานี้เป็นอันตรายต่ออ้อยน้อยกว่าพวกไดยูรอน สำหรับยาประเภทฉีดภายหลังที่อ้อยและวัชพืชงอกแล้วได้\แก่ ๒, ๔-D ซึ่งใช้ในอัตรา ๒๐๐-๔๐๐ กรัมของเนื้อยาต่อไร่สำหรับกำจัดวัชพืชใบกว้าง และอะเมทรีน\ในอัตราต่ำกว่าที่กล่าวข้างต้นก็สามารถใช้ฉีดหลังงอกได้ การฉีดหลังงอกต้องระวังอย่างให้ถูกอ้อยมากนัก เพราะอาจเป็นอันตรายได้


การป้องกันและการกำจัดโรคและแมลง ศัตรูอ้อย

ก. โรคอ้อย โรคอ้อยที่พบในประเทศไทยมีมากกว่า ๒๐ โรค แต่ที่ระบาดทำความเสียหายมากมีประมาณ ๕ โรค คือ โรคแส้ดำ โรคราสนิม โรคไส้แดง โรคใบลายหรือใบด่าง และโรคใบขาว
๑. โรคแส้ดำ (smut) เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ยอดมีลักษณะคล้ายแส้โผล่ออกมาที่แส้จะเต็มไปด้วยเขม่าสีดำซึ่งหุ้มอยู่ด้วยเยื่อบางสีขาว เมื่อเยื่อแตกออกทำให้เขม่าสีดำซึ่งก็คือสปอร์ของเชื้อโรคปลิวไปตามลม ลักษณะอื่นๆ ที่ปรากฏก็คือ ลำต้นส่วนใหญ่แคระแกร็นไม่ย่างปล้อง มีการแตกกอมากผิดปกติ อ้อยตอเป็นมากกว่าอ้อยปลูก พันธุ์ที่เป็นโรคนี้มากได้แก่ เอ็นซีโอ ๓๑๐ ซีบี ๓๘-๒๒ และซีโอ ๔๒๑ ส่วนพันธุ์ เอฟ ๑๔๐ และคิว ๘๓ ก็เป็นโรคนี้ แต่ไม่มากนัก
การป้องกันกำจัด
๑. ปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค
๒. ขุดทำลายต้นที่เป็นโรค
๓. แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน
๔. ปล่อยให้ดินว่างหรือปลูกพืชหมุนเวียน
๕. พันธุ์ที่เป็นโรคนี้อย่างรุนแรง ไม่ควรไว้ตอ

๒. โรคราสนิม (rust) เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งเกิดที่ใบ ทำให้ใบเป็นจุดเล็กๆ สีคล้ายสนิมเหล็กเป็นจำนวนมาก มองดูคล้ายใบเป็นสนิมทั้งใบใบแก่ที่อยู่ข้างล่างเป็นมากกว่าใบอ่อน พันธุ์ที่เป็นโรคนี้มาก คือ คิว ๘๓
การป้องกันกำจัด
๑. ปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค
๒. รักษาความสะอาดในแปลง
๓. ใช้ยากำจัดเชื้อราฉีด

๓. โรคไส้แดง (red rot) เกิดจากเชื้อราทำให้ภายในลำต้นเป็นสีแดง และมีสีขาวสลับเป็นห้วงๆ มักเป็นแก่ท่อนพันธุ์และอ้อยที่แก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว พันธุ์ที่เป็นโรคนี้มาก คือ พินดาร์
การป้องกันกำจัด
๑. ปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค
๒. ขุดทำลายต้นที่เป็นโรค
๓. แช่ท่อนพันธุ์ในยาป้องกันเชื้อรา
๔. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดโรค

๔. โรคใบลายหรือใบด่าง (mosaic) เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบอ่อนหรือใบที่เพิ่งคลี่มีลักษณะเป็นลายสีเขียวอ่อน หรือสีเขียวอมเหลืองสลับกับสีเขียวเข้มของใบปกติ อาการดังกล่าวปรากฏทั้งใบ โรคนี้เป็นแก่อ้อยที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศเราแทบทุกพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เป็นมาก คือ คิว ๘๓
การป้องกันกำจัด
๑. ปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค๒. ขุดทำลายต้นที่เป็นโรค
๓. แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน
๔. ปล่อยให้ดินว่างหรือปลูกพืชหมุนเวียน

๕. โรคใบขาว (white leaf) เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา (mycoplasma) ของอ้อย ทำให้ใบอ่อนเป็นสีขาวทั้งใบ และลำต้นแคระแกร็น แตกกอคล้ายตะไคร้แต่ไม่มีลำ พบได้ทุกระยะของการเติบโตพบในอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูก
การป้องกันกำจัด
๑. ปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค
๒. แช่ท่อนพันธุ์ในสารละลายเตตราไซคลิน (tetracyclin) ซึ่งมีความเข้มข้น ๒๕๐ ส่วนในล้าน ในน้ำร้อน ๕๔ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๓๐ นาที
๓. ขุดทำลายต้นที่เป็นโรค
๔. ทำลายแมลงพาหะ

ข. แมลงศัตรูอ้อย แมลงศัตรูอ้อยในประเทศไทยมีมากกว่า ๒๐ ชนิด แต่ที่เคยระบาดทำความเสียหายอย่างรุนแรง มีเพียงไม่กี่ชนิด ในจำนวนนี้ได้แก่ เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อนอ้อยสีขาว เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะยอด หนอนฃเจาะลำต้นและยอด หนอนเจาะอ้อยสีชมพูและหนอนเจาะลำต้นอ้อย เป็นต้น อ้อยที่ถูกแมลงเหล่านี้ทำลายจะให้ผลผลิต และคุณภาพต่ำลง การป้องกันกำจัดแมลงเหล่านี้ อาจกระทำได้โดยการใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งนอกจากจะได้ผลไม่คุ้มค่าแล้ว ยังเกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย นอกจากการใช้ยาแล้วการปฏิบัติอย่างอื่น เช่น การทำความสะอาดแปลง และลอกกาบแห้งขณะอ้อยยืนต้นอยู่ฃหรือการเผาใบก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยว ก็อาจช่วยฃลดความเสียหายที่เกิดจากแมลงเหล่านี้ได้บ้าง แต่ได้ผลไม่ค่อยจะแน่นอน ในปัจจุบันได้มีการนำเอาฃวิธีการบริหารแมลง (pest management) มาใช้ การบริหารแมลงศัตรูพืชมิใช่วิธีป้องกันกำจัด แต่เป็นแนวทางที่จะได้มาซึ่งข้อมูลในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้นๆ ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดผลดีต่อสภาพแวดล้อม และได้รับผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นที่ยอมรับในสังคมด้วยตัวอย่างเช่น การใช้ศัตรูธรรมชาติทั้งที่เป็นแมลงและ สัตว์อื่น รวมทั้งโรคของแมลงศัตรูพืชนั้นกำจัดตัวมันเอง ดังนี้เป็นต้น วิธีนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น


เพลี้ยอ่อนอ้อยสีขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ้อย



โรคแส้ดำ



การใช้แมลงและสัตว์อื่นกำจัดแมลงศัตรูพืช




การปลูกซ่อม

ถ้าปลูกด้วยท่อนพันธุ์ ๓ ตาและมีการคัดเลือกเฉพาะท่อนที่มีตาสมบูรณ์ปลูกการซ่อมก็อาจไม่จำเป็น เพราะอ้อยจะงอกเป็นส่วนมาก ความจริงท่อนพันธุ์ที่มี ๓ ตานั้น ถ้างอกเพียง\ตาเดียวก็พอแล้ว แม้ว่าบางท่อนจะไม่งอกเลย แต่ถ้าช่องว่างที่ไม่งอกนั้นมีความยาวไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร ก็ไม่จำเป็นต้องซ่อม ทั้งนี้เพราะกอที่อยู่ข้างๆช่องว่างนั้นจะมีการแตกกอมากขึ้นเป็นการชดเชย\การปลูกซ่อมควรกระทำภายในเวลา ๓-๔ สัปดาห์\ภายหลังปลูก และควรใช้ท่อนพันธุ์หรือชิ้นตาที่ชำให้งอกก่อน แล้วปลูกซ่อมจะให้ผลดีกว่าใช้ท่อนพันธุ์โดยตรง


การใส่ปุ๋ยและการพูนโคน

ชาวไร่ที่ส่งอ้อยแก่โรงงาน ที่ซื้อตามน้ำหนักมักนิยมใส่ปุ๋ยเดี่ยว คือ แอมโมเนียมซัลเฟต หรือแอมโมเนียมคลอไรด์อัตราประมาณ ๑๐-๒๐ กิโลกรัม ไนโตรเจนต่อไร่ เมื่ออ้อยอายุ 2 1/2-3เดือน ใส่ครั้งเดียว ส่วนพวกที่ขายอ้อยให้แก่โรงงานที่ซื้อตามคุณภาพมักจะ ใส่ปุ๋ยผสมสมบูรณ์สูตรต่างๆ เช่น ๑๒-๑๐-๑๘ หรือ ๑๓-๑๓-๒๑ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๑๐๐-๑๕๐ กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ก่อนปลูกครึ่งหนึ่งและใส่ที่เหลือเมื่อ อายุประมาณ 2 1/2-3 เดือน การใส่ปุ๋ยครั้งที่สองนี้ กระทำโดยโรยปุ๋ยไปตามแถวอ้อย แล้วพรวนดินกลบอย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาปริมาณปุ๋ยที่ชาวไร่ใส่กับอายุของอ้อยที่ยืนยาวนับปีแล้ว จะเห็นว่าปุ๋ยที่ใส่นั้นค่อนข้างน้อยมาก ชาวไร่บางรายนอกจากจะพรวนดินกลบปุ๋ยแล้วยังพูนโคน (hilling-up) อีกด้วย วิธีการก็คือการไถดินระหว่างร่องเข้ามากลบที่โคนอ้อย ทำให้มีร่องเกิดขึ้นระหว่างแถวอ้อย วิธีนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับที่บางแห่ง โดยเฉพาะแห่งที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

ป้ายกำกับ: